นอนกรน หยุดหายใจ

นอนกรน หยุดหายใจ

นอนกรน หยุดหายใจ เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และพบบ่อยในคนอ้วน โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีปัญหานอนกรนจากหลายสาเหตุได้ ดังนั้นการแก้ไขหรือรักษาจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนเป็นลำดับแรกแล้วจึงหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค วิธีการรักษาทำได้ทั้งไม่ผ่าตัดและผ่าตัด แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า คนที่อ้วนมาก ๆ จะนอนกรนทุกคน แต่คนผอม ๆ ก็มีโอกาสนอนกรนได้เช่นกัน

ประเภทของการนอนกรน

การนอนกรนมีหลายประเภทดังนี้

  1. การนอนกรนแบบธรรมดา

การนอนกรนแบบธรรมดา มีผลกระทบในระยะยาวโดยเฉพาะกับคู่นอนของคนไข้เอง ทำให้คู่นอนของคุณนอนหลับยากเพราะเสียงกรนของคุณ นอกจากนั้นยังมีผลกระทบทำให้เส้นเลือดสมองที่คอซึ่งไปเลี้ยงสมองหนาตัวขึ้น

  1. การนอนกรนอันตรายมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย

หลายท่านคงเคยสัมผัสและรับรู้ถึงเสียงกรนของคนข้าง ๆ เพราะจะมีช่วงที่กรนเสียงดังและค่อยสลับกันเป็นช่วง ๆ โดยจะกรนดังขึ้นเรื่อย ๆ หากสังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบว่า ผู้ที่กรนจะหยุดหายกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ช่วงนั้นเองที่มีการหยุดหายใจเกิดขึ้น และเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงถึงระดับหนึ่งจากการหยุดหายใจร่างกายจะมีกลไกตอบสนองภาวะนี้ โดยจะทำให้การหลับของคนที่กรนนั้นถูกขัดขวางทำให้ตื่นขึ้น โดยจะมีอาการเหมือนสะดุ้งเฮือก หรืออาการเหมือนสำลักน้ำลายตนเอง หลังจากนั้นก็จะกลับมากรนใหม่อีกครั้ง นอกจากการกรนจะมีผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้ว ถ้าหากไม่รักษาอาจจะมีอาการง่วงผิดปกติและทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือหากขับรถบนท้องถนนอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และที่สำคัญหากไม่รักษาอาจจะกลายเป็นโรคอื่น ๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตในปอดสูง โรคหลอดเลือดในสมอง และการรักษาโรคการนอนกรนนั้นสามารถรักษาได้ 2 วิธีคือการรักษาโดยการผ่าตัด และการรักษาโดยการไม่ผ่าตัด และวันนี้เราจะมาแนะนำการรักษาการนอนกรน หยุดหายใจโดยไม่ต้องผ่าตัดว่ามีขั้นตอนการรักษาอย่างไร พร้อมแล้วเราไปดูขั้นตอนการรักษาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดกันเลยค่ะ

การรักษานอนกรนโดยไม่ผ่าตัด

การรักษาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นการทดลองการรักษาเท่านั้นหากคุณรักษาหายก็ไม่ต้องผ่าตัด แต่หากการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดไม่ได้ผล คุณเองจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาการกรนของคุณในขั้นต่อไป แต่ในระดับแรก ๆ แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาการกรนแบบไม่ผ่าตัดก่อน ถ้าไม่สามารถรักษาโรคนอนกรนได้ หรือมีปัญหาที่ต้องแก้นอนกรนโดยการผ่าตัด เช่น มีโครงหน้าสั้น หรือเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน จึงต้องทำการผ่าตัดรักษาการกรนด้วยการขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาหลายปัจจัย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องรักษานอนกรนแบบผ่าตัดได้ การแก้โรคนอนกรนแบบไม่ผ่าตัดด้วยการใช้เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน ในปัจจุบันสามารถรักษาได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากที่มีโรคนอนกรน มักจะเลือกวิธีรักษาการกรนด้วยการไม่ผ่าตัด เพราะไม่ต้องผ่าตัดให้เจ็บตัว และไม่ต้องเสียเวลาในการพักฟื้นอีกด้วย ก่อนอื่นผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep test) ก่อนที่จะระบุวิธีการรักษาการกรนได้ เพราะขึ้นกับความเหมาะสมของอาการนอนกรน ทั้งระดับความรุนแรงอาการนอนกรน และสาเหตุของโรคนอนกรนในแต่ละเคส โดยมีวิธีรักษาโรคนอนกรนโดยไม่ผ่าตัด ดังนี้

  1. เครื่องแก้กรน iNAP

เครื่องแก้กรน iNAP เป็นอุปกรณ์แก้การนอนกรน หยุดหายใจได้ เพื่อให้คนไข้สามารถนอนหลับได้อย่างสบาย ซึ่งแตกต่างจากเครื่อง CPAP ทั่วไป การรักษาด้วยอุปกรณ์รักษานอนกรน iNAP ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากครอบใบหน้าหรือต้องพกพาเครื่องขนาดใหญ่อย่างเช่นเครื่อง CPAP

  1. การเปิดทางเดินหายใจโดยไม่ผ่าตัด

เมื่อคนไข้ได้รับการตรวจการนอนกรนจากแพทย์แล้ว แพทย์จะให้คนไข้ตรวจการนอนหลับว่าการนอนหลับของคนไข้เป็นประเภทไหนโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือการนอนกรนแบบธรรมดา และการนอนกรนแบบอันตราย และหากตรวจพบว่าการนอนกรนของคนไข้เป็นการนอนกรนแบบอันตรายการตรวจการนอนหลับ (Sleep test) จะบอกถึงระดับความรุนแรงของอาการนอนกรนแบบอันตราย ได้ว่ารุนแรงมากหรือน้อยเพียงใด

  1. เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน

เครื่องมือทันตกรรมแก้นอนกรน ด้วยฟันยางแก้นอนกรน เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไข้ที่นอนกรมหรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับสามารถใช้โดยง่ายด้วยการให้ผู้ป่วยสวมเครื่องมือในปากขณะนอนหลับ

  1. การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน (CPAP)

การใช้เครื่องเป่าในทางเดินหายใจนี้สามารถช่วยให้คนไข้หายใจรับอากาศได้อย่างเพียงพอ และทำให้คนไข้สามารถนอนหลับได้อย่างสนิทตลอดคืนอีกด้วย

  1. การฝังพิลลาร์ในเพดานอ่อน

การแก้การนอนกรนโดยการฝั่งพิลลาร์ (Pillar) เข้าไปในเพดานอ่อน เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างมาก เพราะอาการนอนกรน หยุดหายใจ ที่เป็นระดับที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้ โดยสอดแท่งเล็ก ๆ 3 แท่ง ซึ่งทำมาจากโพลิเอสเตอร์อันอ่อนนุ่ม ช่วยแก้นอนกรน

  1. การใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้บริเวณโคนลิ้น

การใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรักษาการนอนกรนหรือมีภาวะการหยุดหายใจจะเป็นการรักษาโดยการผ่าตัดเล็กที่คนไข้ที่มีการกรนดังกล่าวนิยมทำกันมาก เพราะสามารถรักษาอาการกรนได้เป็นอย่างดี และการรักษานี้ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยแพทย์จะใส่เครื่องมือที่เป็นเข็มชนิดพิเศษแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพื่อส่งคลื่นความถี่วิทยุเข้าไปและผลการรักษาจะเห็นผลใน 4-6 สัปดาห์

ทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนการรักษาโรคการนอนกรน หยุดหายใจด้วยไม่ต้องผ่าตัด เป็นขั้นตอนง่าย ๆ และสามารถรักษาหายได้จริง หากคนไข้ที่เป็นโรคกรนแบบธรรมดาไม่ใช่การนอนแบบอันตราย แต่หากคนไข้ที่เป็นโรคนอนกรนแบบอันตรายมีวิธีเดียวที่สามารถแก้ไขปัญหาการนอนกรนของคนไข้ได้ก็คือการผ่าตัดเท่านั้น แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนอนกรนแบบไหนรีบไปตรวจกันเลยนะคะจะได้รักษาได้ทันท่วงที อย่ารอเพราะอาจจะเป็นขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้นั่นเอง