ติดหูกาง เทคนิคการแก้ไขปัญหา สำหรับผู้ที่มีหูกาง ขาดความมั่นใจ

หูกาง หูใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้ที่มีใบหูที่กางไม่น้อย เนื่องจากทำให้เกิดความไม่มั่นใจในเรื่องของการไว้ทรงผม เพราะไม่ว่าจะทำทรงไหนก็จะมองเห็นหูที่กางออกมานอกเส้นผม ดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่จะปรับรูปร่างของใบหูตัวเองให้มีลักษณะที่แนบไปกับศีรษะทางด้านหลัง ปัจจุบันนี้ได้มีสติกเกอร์ติดหูกางซึ่งใช้ไม่ยากแค่นำไปติดไว้ด้านหลังหูแล้วกดให้แนบกับศีรษะเพียงเท่านี้หูก็ไม่กางแล้ว

การนำสติกเกอร์มาติดหูกางเป็นการแก้ไขในเบื้องต้นของคนที่ยังไม่ได้ศึกษาในเรื่องของการทำศัลยกรรมแก้ไขหูกาง หากเมื่อท่านศึกษาถึงรายละเอียด ผลลัพธ์ที่ได้ ท่านอาจจะอยากเข้ารับบริการเลยก็ว่าได้

การศัลยกรรมหูเป็นการแก้ไขลักษณะหูกางผิดปกติได้ โดยแพทย์จะทำการเปิดตามแนวหลังใบหูเพื่อปรับแต่งเย็บกระดูกอ่อนของใบหูหรือโดยการตัดบางส่วนของหูที่เป็นปัญหาเพื่อให้ได้รูปร่างที่ต้องการ ในการผ่าตัดนั้นก็เพื่อเป็นการปรับแก้ขนาด รูปร่างหรือตำแหน่งของใบหู ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลบนใบหน้า

เมื่อทำศัลยกรรมแก้ไขหูกางแล้วท่านสามารถทำผมทรงใดก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องมานั่งกังวลในเรื่องของการถูกล้อเลียนหรือต้องนำผมมาปิดใบหูที่ใหญ่และกว้างอีกต่อไป

การผ่าตัดแก้ไขปัญหาหูกาง

ก่อนอื่นเลยท่านจะต้องเข้าขอคำปรึกษาจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์จะต้องวิเคราะห์ในหลายๆ ส่วนประกอบในการตัดสินใจ โดยแพทย์จะพูดคุยถามความต้องการ การผ่าตัดแก้ไขปัญหาหูกางตกลงกันให้ชัดเจนในแนวทางที่สามารถทำได้และผลลัพธ์ที่ออกมาด้วย

โดยทั่วไปสิ่งที่ต้องวิเคราะห์คือ ดูลักษณะขอบกลางของใบหู ว่ามีลักษณะแบนและมุมกางเกินไป หรือใบหูมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป โดยผู้ที่ประสบปัญหา อาจเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้ง 2 ลักษณะ ดังนั้น วิธีการผ่าตัด จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ

  • แพทย์จะเข้าไปเลาะกระดูกอ่อนแล้วทำการเย็บให้พลิกพับกลับไปด้านหลัง
  • แพทย์จะทำการผ่าตัดตรงบริเวณด้านหลัง ซึ่งถ้าบางรายผิวหนังมีความหย่อนคล้อยมาก ก็ต้องตัดออกและเย็บให้ตึง ส่งผลให้ใบหูพลิกกลับไปด้านหลัง โดยแต่ละรายจะพิจารณาแก้ไขตกแต่งให้รูปร่างใบหูให้สวยงามต่างกัน
  • ในรายที่ต้องแก้ไขจัดรูปร่างกระดูกอ่อนใบหูใหม่ คือ มีการขาดหายของกระดูกอ่อน อาจต้องใช้กระดูกอ่อนจากส่วนอื่นมาเสริมเพิ่มขึ้นแทนส่วนที่ขาดหายไป

เมื่อทำการผ่าตัดศัลยกรรมแก้ไขหูกางเรียบร้อยแล้ว ลักษณะของหูซ้ายและหูขวาอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น หูซ้ายอาจจะกางน้อยกว่าหูขวา หรือมุมที่จะแก้ไขไม่เหมือนกัน จึงเป็นที่มาของการผ่าตัดหูทั้ง 2 ข้างด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

แนะนำบทความยอดนิยม Miradry จากเว็บไซต์ Rattinan.com

ติดหูกาง แก้ไขยังไง

ดังนั้นแพทย์กับผู้เข้ารับบริการจะต้องพูดคุยทำความเข้าใจในส่วนนี้ก่อน เพราะตามความจริงแล้ว โดยธรรมชาติใบหูทั้ง 2 ข้าง ไม่ได้เท่ากันอยู่แล้ว นอกจากนี้สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้หลังกการผ่าตัดแก้ไขคือ อาจมีเลือดคั่งใต้แผลใบหูกางไม่เท่ากัน หรือการดีดตัวกลับของกระดูกอ่อน

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ท่านต้องงดแอสไพริน หรือ ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ และงดอาหารเสริมจำพวกวิตามิน เช่น อีฟนิ่งพริมโรส, วิตามินอี, ใบแปะก๊วย เพราะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากมีโรคประจำตัวท่านต้องแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบ
  • ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ท่านต้องงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
  • ควรใส่เสื้อที่ติดกระดุมด้านหน้าไม่ควรใส่เสื้อยืดที่ไม่มีกระดุม เพราะต้องสวมผ่านศีรษะทำให้เจ็บแผลผ่าตัดที่ใบหูได้

ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขหูกาง

  • แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
  • แพทย์จะทำการเปิดแผลที่หลังหู ตกแต่งกระดูกอ่อนใบหู เย็บให้เข้ารูปและเย็บปิดแผล ทั้งหมดใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง
การดูแลหลังผ่าตัดแก้ไขหูกาง
  • หลังผ่าตัดให้พันผ้ายืดบริเวณหูไว้ 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน เพื่อช่วยให้รูปร่างของใบหูเข้าที่
  • หลังผ่าตัดท่านไม่ต้องเปิดแผลทำความสะอาด แพทย์จะนัดมาพบเพื่อดูแผลหลังผ่าตัดและนัดตัดไหม ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 7 วันหลังผ่าตัด
  • หลังทำการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ท่านต้องงดอาหารหมักดอง อาหารทะเล อาหารรสเค็ม และอาหาร-รสจัด จนกว่าแผลหาย
  • หลังทำการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ท่านต้องงดสุราหรือสูบบุหรี่
  • ท่านต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด หากเกิดการแพ้ยา เช่น คัน มีผื่นแดง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ให้หยุดรับประทานทันที และรีบมาพบแพทย์

บทสรุป

ใบหูที่กางอาจสร้างความไม่มั่นใจให้กับท่าน โดยท่านสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการซื้อสติกเกอร์มาติดหูกาง แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ถาวร ท่านจะต้องติดอยู่บ่อย ๆ ในกรณีที่ต้องออกนอกบ้าน การแก้ไขปัญหาหูกางที่ดีที่สุดคือการทำศัลยกรรมแก้ไขหูกาง ซึ่งท่านจะต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและเพื่อการลดความเสี่ยงก่อนที่จะเข้ารับบริการ