แก้ไขหูกาง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนศัลยกรรม

ผู้ที่มีปัญหาหูกาง ย่อมต้องการแก้ไขหูกางโดยการศัลยกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีปัญหาหูกางมาตั้งแต่เด็ก เพราะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้น้อยมาก ถือว่าทำให้วิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่มั่นใจในตนเอง ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น ต้องคอยหาวิธีปิดปังหรือถูกหาวิธีที่สามารถปิดบังหูกางได้ ซึ่งในปัจจุบันสามารถศัลยกรรมแก้ปัญหาหูกางได้แล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ต้องคอยปล่อยผมมาปิดหูกางอยู่ตลอด ก่อนการตัดสินใจทำศัลยกรรมแก้ปัญหาหูกาง ควรศึกษาหารายละเอียดเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ป้องกันอันตรายหลังจากการศัลยกรรมได้ดีเลยทีเดียว

สาเหตุของการเกิดหูกาง

  1. เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นมาตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากปัญหาของกระดูกอ่อนมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมดุล
  2. มีก้อนซีสหรือก้อนไขมันบริเวณด้านหลังใบหู ส่งผลให้เนื้อบริเวณดังกล่าวดันใบหูออกมา
  3. เกิดจากฮอร์โมนหรือเนื้องอกบางอย่างจึงทำให้หูกางออกมา

ข้อดี-ข้อเสีย ของการศัลยกรรมแก้หูกาง

ข้อดี

  1. ช่วยแก้ไขปัญหาใบหูที่ผิดปกติให้กลับมามีรูปร่างที่สวยงามตามธรรมชาติได้ เกิดความมั่นใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  1. ช่วยแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ที่มีหูพับกางได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินได้อีกด้วย

ข้อเสีย

  1. การศัลยกรรมแก้ปัญหาหูกาง จะทำการผ่าตัดด้านหลังใบหู จึงทำให้เกิดเป็นรอยนูน เกิดจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระดูกใบหู จึงทำให้ใบหูดูไม่เป็นธรรมชาติ
  2. การผ่าตัดแก้ไขใบหู ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนศัลยกรรมแก้ไขหูกาง

  1. ผู้ที่จะทำการศัลยกรรมหูกาง แจ้งประวัติการเจ็บป่วยหรือมีโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนวันผ่าตัดอย่างน้อย 1-3 วัน
  2. งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
  3. ควรงดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อย่าน้อง 7 – 14 วันก่อนผ่าตัด
  4. งดใส่คอนแทคเลนส์ แต่งหน้า ทาเล็บ ทาโลชั่น หรือใส่เครื่องประดับและของมีค่าในวันที่รับการผ่าตัด
  5. วันผ่าตัดแนะนำให้เตรียมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สะดวกต่อการถอดและสวมใส่
  6. ควรมีผู้ติดตามหรือญาติมาด้วยในวันผ่าตัด

แก้ไขหูกาง โดยศัลยกรรม

การดูแลหลังการศัลยกรรมแก้ไขหูกาง

  1. หลังผ่าตัดต้องใส่ Face Support รัดบริเวณใบหูตลอดเวลาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้ผลลัพธ์ในการรักษาออกมาดียิ่งขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงการโดนน้ำบริเวณแผลอย่างน้อย 3 วันขึ้นไป สามารถสระผมได้หลังจากการผ่าตัด 3 วัน แต่ต้องเช็ดความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด ให้แห้ง
  3. งดออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องได้รับการกระทบกระเทือนศีรษะ อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  4. งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ อย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายดี
  5. หากมีเลือดออกผิดปกติ ควรเข้ามาพบแพทย์ทันที
  6. ติดตามผลการผ่าตัด (Follow-Up) ภายในระยะเวลา 7 วัน เพื่อตัดไหมและตรวจเช็คผลลัพธ์

วิธีการผ่าตัดหูกาง

  1. ศัลยแพทย์จะออกแบบโครงสร้างใบหู เพื่อให้เข้ากับรูปหน้าของแต่ละคน และทำการฉีดยาชาบริเวณใบหูก่อน จะทำแนวเส้นผ่าตัดที่ด้านหลังใบหู
  2. หลังจากยาชาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะทำการกรีดเปิดแผลบริเวณหน้าและหลังใบหู โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำการผ่าตัดหลังใบหู เพราะจะเห็นรอยแผลเป็นหลังผ่าตัดได้ยาก
  3. ผิวหนังส่วนหนึ่งจะถูกตัดออก และทำการดึงผิวหนังบริเวณแนวเส้นผ่าตัด แนบเข้าหากันและเย็บให้ติดกันเพื่อเป็นการดึงใบหู ให้เข้ามาแนบชิดศีรษะมากขึ้น และอาจจะมีการปรับโครงสร้างกระดูกอ่อนร่วมด้วย

การพักฟื้น หลังการผ่าตัดแก้ไขหูกาง

  1. การผ่าตัดหูกาง เป็นการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อน ระยะเวลาในการพักฟื้นจะเร็วกว่าการผ่าตัดอื่น ๆบนใบหน้า หลังการผ่าตัดแผลจะบวมแดงบ้างแต่จะหายไปในเวลา 1-2 อาทิตย์
  2. ใช้ผ้ายืด (Elastic Bandage) พันรอบใบหูเพื่อพยุงใบหูที่จัดรูปทรงใหม่ 2-3 วัน แล้วเอาออก ทำความสะอาดแผล ปิดพลาสเตอร์
  3. นอนศีรษะสูงช่วง 2 วันแรก เงยหน้าตรง ใช้หมอนล็อกคอ เพื่อลดการบวม
  4. งดอาหารเค็ม 1 -2 อาทิตย์ เพื่อลดบวม
  5. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และรับประทานอาหารรสเค็มจัด, เผ็ดจัด และของหมักดอง ประมาณ 1 สัปดาห์
  6. แพทย์จะนัดตรวจแผล 1 เดือน หลังการผ่าตัด โดยทั่วไปจมูกจะยุบบวมและเข้าที่ใช้ประมาณ1 เดือน
  7. ทำแผลทุกวันให้สะอาด
  8. ตัดไหม หลังผ่าตัด 1 อาทิตย์
  9. แผลผ่าตัดจะหายสนิท ประมาณ 1-3 เดือน

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดหูกางนั้น ภาวะแทรกซ้อนจะพบได้ไม่บ่อยมากนัก แต่การผ่าตัดทุกชนิดย่อมพบความเสี่ยงอยู่บ้าง ซึ่งจะพบความเสี่ยงที่เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น อาจเกิดปัญหาการสะสมของเลือดใต้ผิวหนังหลังหู ซึ่งมันสามารถละลายหายไปได้เองตามธรรมชาติ หรือสามารถใช้เข็มดูดออกได้ หรืออาจจะพบการติดเชื้อที่กระดูกอ่อน ทำให้เกิดแผลเป็นได้ และสามารถรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่วนน้อยมากที่จะต้องทำการผ่าตัดเอาหนองออก หรือ กระดูกอ่อนที่เย็บไว้อาจดีดกลับคืนรูปได้ แต่โดยมากจะไม่กางเท่าของเดิม ขึ้นอยู่กับกระดูกของแต่ละคน